การศึกษางานหัตถกรรมโลหะกลุ่มชาติพันธุ์ลาวสูง ใน สปป.ลาว
หัวหน้าโครงการ : ชัยบพิธ พลศรี
จากการลงพื้นที่ศึกษา พบว่า ลักษณะของลวดลายที่ปรากฏในเครื่องประดับ หรือ งานหัตถกรรมโลหะกลุ่มชาติพันธุ์ลาวสูง จะเป็นลวดลายที่มาจากธรรมชาติและไม่ปรากฏรูปแบบที่ชัดเจน ขึ้นกับความพึงพอใจของผู้สวมใส่ แต่มีข้อสังเกต คือ ในชนเผ่าม้งจะมีลายก้นหอย ชนเผ่าอาข่าจะนิยมใช้เหรียญในสมัยฝรั่งเศสปกครองมาใช้ในการประดับตกแต่งเครื่องแต่งกาย เช่น หมวกหรือสร้อยรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากในแต่ละกลุ่มชนเผ่านั้นมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอีกทั้งการเข้ามาจากพ่อค้าชาวจีน ซึ่งนำรูปแบบของเครื่องประดับชนเผ่าในจีนมาจำหน่ายให้กับชนเผ่าลาวสูงในลาวทำให้เกิดการเข้าใจผิดในรูปแบบของเครื่องประดับแบบดั้งเดิมใน สปป.ลาว อีก ทั้งมีการผลิตเครื่องประดับต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่โดยใช้รูปแบบเดิมแต่เปลี่ยนวัสดุจากเงินเป็นอลูมิเนียมแทน อีกทั้งจากการสอบถามทั้งกลุ่มผู้ค้าและผู้ใช้ให้ความเห็นเป็นเสียงเดียวกันคือ ช่างที่ทำเครื่องประดับหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ นั้น ไม่มีการสืบต่ออย่างชัดเจน บางคนก็เสียชีวิตไปแล้ว อีกทั้งในกระบวนการผลิตใช้เวลานาน ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่ต้องการของถูกและสวยงาม เป็นเหตุให้เครื่องประดับและงานหัตถกรรมโลหะกลุ่มชาติพันธุ์ลาวสูงใน สปป.ลาว นั้น เกิดการสูญหายไป และเป็นช่องทางให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเครื่องประดับจากการเข้ามาของพ่อค้าชาวจีนที่มีการผลิตเครื่องประดับในเชิงหัตถอุตสาหกรรม จนทำให้รูปแบบเดิมเสื่อมไป
รายละเอียดเพิ่มเติม : การศึกษางานหัตถกรรมโลหะกลุ่มชาติพันธุ์ลาวสูง ใน สปป.ลาว รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556