เครือข่ายฐานข้อมูลยาแผนโบราณ
หัวหน้าโครงการ : สัมมนา มูลสาร
รายงานได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่มีใช้ในตำรายาพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี ที่ประกอบด้วย ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อพ้อง ชื่ออื่น ๆ วงศ์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ประโยชน์ และ ข้อมูลการใช้ในตำรายาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี
ตัวอย่างสมุนไพร
กระโดน
ชื่อพฤกษศาสตร์ Careya sphaerica Roxb.
ชื่ออื่น ๆ กระโดน (ภาคกลาง, ภาคใต้) กะนอน (เขมร) ขุย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) จิก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) แซงจิแหน่ เส่เจ๊อะมะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปุย (ภาคใต้ ภาคเหนือ) ปุยกระโดน (ภาคใต้) ปุยขาว ผ้าฮาด (ภาคเหนือ) พุย (ละว้า-เชียงใหม่) หูกวาง (จันทบุรี)
วงศ์ Lecythidaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-30 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ ๆ ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ ปลายแหลม เป็นติ่งสั้น ๆ โคนเรียวยาวดูคล้ายครีบ ขอบหยักเล็กน้อย ดอกใหญ่ออกเป็นช่อ แต่ละดอกมีใบประดับ 3 ใบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นรูประฆัง กลีบดอก 4 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่ 4 ช่อง ผลรูปไข่หรือกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. ที่ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดแบน สีน้ำตาลอ่อน รูปขอบขนาน ผิวเรียบ
ประโยชน์ เป็นยาฝาดสมาน ใช้เบื่อปลา และใช้เป็นสีย้อม
ข้อมูลการใช้ในตำรายาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี แก้ท้องเสีย
มะเขือขื่น
ชื่อพฤกษศาสตร์ Solanum aculeatissimum Jacq.
ชื่อพ้อง S. xanthocarpum Schrad. & H. Wendl.
ชื่ออื่น ๆ มะเขือเปราะ มะเขือแจ้ มะเขือคำ (ภาคเหนือ) มะเขือแจ้ดิน (เชียงใหม่) มังคิเก่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เขือเพา (นครศรีธรรมราช) Cockroac berry
วงศ์ Salanaceae
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ต้น ใบและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ขอบใบเว้าตื้น ๆ ตามใบมีหนาม และมีขนอ่อนนุ่ม ดอก เป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ มีหนามตามบริเวณกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีม่วง เกสรตัวผู้เด่น สีเหลืองสด ผล เป็นผลสดเปลือกหา เมื่อยังดิบเปลือกมักเป็นสีเขียว มีลาย เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในมีเมล็ดมาก
ประโยชน์
ผล เป็นยากัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว
ราก เป็นยากระทุ้งพิษ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้สันนิบาต
ข้อมูลการใช่ในตำรายาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ราก แก้เส้นเอ็น
รายละเอียดเพิ่มเติม : เครือข่ายฐานข้อมูลยาแผนโบราณ รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2545