• รถโดยสารประจำทาง

    มหาวิทยาลัยได้ประสานงานกับจังหวัดอุบลราชธานีเกี่ยวกับการจัดการรถโดยสารประจำทาง ส่งบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ในการเดินทางจากในเมืองอุบลราชธานี และในอำเภอวารินชำราบมาที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเส้นทางเดินรถประจำทางกำหนดจากบริเวณด้านหน้าวิทยาลัยครูอุบลราชธานีผ่านอำเภอวารินชำราบถึงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเส้นทางที่มีการสัมปทานการเดินรถ 2 เส้นทาง (2 บริษัท) ด้วย ในที่สุดบริษัทสมคิดเดินรถ (จำกัด) ซึ่งเป็นผู้สัมปทานเส้นทางถนนวาริน – เดชอุดม  ได้จัดรถประจำทาง (Bus) 1 คัน มารับ – ส่ง บุคลากรและนักศึกษา ตั้งแต่เริ่มแรกในปี พ.ศ.2533 มาจนประมาณกระทั่งกลางปี พ.ศ.2535 บริษัทมีรถประจำทางเล็ก (สองแถว) บริการ ในระยะแรกมีนักศึกษา และบุคลากรบางส่วนที่ไม่ได้รับความสะดวกเกี่ยวกับรถโดยสารประจำทาง เพราะในระยะแรกนั้น มีรถบริการเพียง 1 คัน  และต่อมามีเพิ่มขึ้นเป็น 2 คัน ก็ยังไม่ได้รับความสะดวก ทำให้นักศึกษาและบุคลากรบางส่วนหันไปใช้รถจักรยานยนตร์ในการเดินทางทำให้รถประจำทางของบริษัทได้ผู้โดยสารน้อย ยกเว้นเฉพาะในเที่ยวเช้าที่รับบุคลากรมาทำงานและเที่ยวหลังเลิกงานที่รับบุคลากรกลับ จะเป็นเที่ยวที่มีผู้โดยสารเป็นจำนวนมากพอสมควรและมีจำนวนที่แน่นอนในระดับหนึ่ง     อ้างอิง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กองแผนงาน. งานวิจัยสถาบัน.(2537). รายงานวิจัยสถาบัน เรื่อง สภาพปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2535, หน้า 14    

  • โรงอาหารกลาง

    ระยะแรกตั้งมหาวิทยาลัยฯ ยังไม่มีโรงอาหาร แต่มหาวิทยาลัยฯ ได้อนุญาตให้บุคคลเข้ามาประกอบการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแก่นักศึกษาและบุคลากรที่อาคารฝึกงานวิศวกรรมเครื่องกล (EN) มี 1 ร้าน และต่อมามีร้านอาหารสร้างเป็นที่ชั่วคราวจำหน่ายอาหารรและเครื่องดื่มใกล้อาคารที่พักราชการ (แฟลตกันเกรา) และข้างหอพักนักศึกษาหลังที่ 1 จนกระทั่งในปี พ.ศ.2534 อาคารอเนกประสงค์สร้างเสร็จ มหาวิทยาลัยแบ่งพื้นที่ด้านล่างส่วนหนึ่งเป็นโรงอาหารของมหาวิทยาลัย มีร้านอาหาร 2 ร้าน และร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม ขนมและผลไม้อีก 1 ร้าน ในปี พ.ศ.2536 ได้จัดพื้นที่ว่างที่อาคารสถาบันภาษาและวัฒนธรรม เป็นร้านอาหารและเครื่องดื่มขึ้นอีก แต่อยู่ไม่นานก็ยกเลิกไป และในปีนี้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เปิดให้เอกชนเข้ามาจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มขึ้นบริการที่คณะอีกจุดหนึ่งด้วย ทั้งนี้ใน พ.ศ.2536 มหาวิทยาลัยกำลังก่อสร้างโรงอาหารกลางขึ้น ซึ่งเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว คงอำนวยความสะดวกได้มาก   อ้างอิง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กองแผนงาน. (2537). รายงานวิจัยสถาบัน เรื่อง สภาพปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2535, หน้า 15  

  • 10 ปีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    ปีพุทธศักราช 2530 ทบวงมหาวิทยาลัย ได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาเทคโนโลยีมารองรับการพัฒนาประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในระยะยาว เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2531 ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ในระยะแรกทำการฝากเรียนไว้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมกันนั้นก็ได้เริ่มสร้างระบบสาธารณูประโภค อาคารเรียน อาคารฝึกงานต่าง ๆ ในพื้นที่ตั้งในปัจจุบัน และเตรียมยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย โดยเน้นพื้นที่ความรับผิดชอบจัดการศึกษาให้แก่ประชากร 8 จังหวัด ในส่วนตะวันออกของภาค ได้แก่ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ต่อมารัฐบาลได้มีมติยกฐานะวิทยาลัยอุบลราชธานีขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2533 มหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีปรัชญาการศึกษาว่า “มหาวิทยาลัยมุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพประชากรทุกหมู่เหล่า เพื่อเสริมคุณภาพชีวิตด้วยปัญญา เพื่อชี้นำทางเลือกที่ดีขึ้นแก่ชุมชนและประชาคม โดยเนินส่วนตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเป้าหมายหลัก” โดยมี รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี ดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดี เป็นบุคคลคนแรกถึงสองวาระด้วยกัน ปัจจุบัน คือ ศ.ดร.ไพฑูรย์ อิงคะสุวรรณ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีออกเป็น 6 คณะ จำนวน 20 สาขาวิชา และหลักสูตรปริญญาโทอีก 1 หลักสูตร คณะเกษตรศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพืชไร่ สาวิชาพืชสวน สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร และสาชาวิชาประมง คณะวิทยาศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะเภสัชศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์หลักสูตร 5 ปี คณะศิลปะศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาภาอังกฤษและการสื่อสาร สาขาวิชาการท่องเที่ยว ในปีการศึกษา 2543 นี้ ยังได้เริ่มรับหลักสูตรปริญญาโทในสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศขึ้นอีกด้วย คณะบริหารศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการจัดการการตลาด และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ การรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาด้วยกัน 3 วิธี คือ วิธีการรับตรง คิดเป็นรอยละ 60 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาทั้งในและนอกเขตอำเภอเมือง…