-
อาคารศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
อาคารศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น เป็นอาคารสำหรับใช้ปฏิบัติงาน และให้บริการสารสนเทศต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลท้องถิ่นในรูปแบบของห้องสมุดอัตโนมัติ โดยใช้เชื่อมต่อกับสำนักคอมพิวเตอร์ ให้มีศักยภาพในการสืบค้น เชื่อมโยงกับ Campus network และสามารถเรียกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้จากหลาย ๆ ส่วนในตัวอาคาร ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก 3 ชั้น ตอกเสาเข็ม มีความมั่นคงแข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อรองรับน้ำหนักครุภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ สารสนเทศในรูปแบบหนังสือ สิ่งพิมพ์ มีระบบจ่ายน้ำ ระบบระบายน้ำ ระบบสุขาภิบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบไฟฟ้า ระบบสัณญาณเตือนภัย ระบบโทรศัพท์และสื่อสาร มีการวางสายใยแก้ว เพื่อต่อเติมระบบคอมพิวเตอร์ภายในอาคาร ระบบสายล่อฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบระบายอากาศ ระบบป้องกันการโจรกรรมหนังสือ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบควบคุมทางเข้าออก (Decentiziser) การปรับแต่งพื้นที่รอบอาคาร ถนน ทางเข้าคอนกรีต พร้อมหลังคาคลุมทางเดินบางส่วน รวมทั้งครุภัณฑ์ประจำอาคาร รวมพื้นที่ทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 3,480 ตารางเมตร งบประมาณค่าก่อสร้าง – วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างประมาณ 40,000,000 บาท (สี่สิบล้านบาทถ้วน)
-
รางวัลรัตโนบล พุทธศักราช 2566
มูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ รางวัลรัตโนบล ประเภทองค์กร อาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เป็นเภสัชกรที่มีบทบาทในวงการเภสัชกรรม ทั้งด้านวิชาการ ด้านอุตสาหกรรม และด้านสังคม ด้านวิชาการและวิชาชีพ ท่านเป็นเภสัชกรไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศ โดยจบจาก Philadelphia College of Pharmacy and Sciences (Master of Science in Pharmacy) อาจารย์เกษมได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาเภสัชศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ที่ แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นแค่การเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร หลักสูตร 3 ปีเท่านั้น และปีต่อมา ศาสตราจารย์จำลอง สุวคนธ์ ได้ทุนไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา อาจารย์เกษมจึงต้องสละเวลา และวางมือจากธุรกิจส่วนตัว เพื่อมาเป็นอาจารย์ประจำแผนก รวมทั้งสอนบางวิชาแทนด้วย อาจารย์เกษม ได้ร่วมกับคณาจารย์เภสัชศาสตร์หลายท่าน ผลักดันให้มีการขยายหลักสูตรวิชาเภสัชให้เป็น 4 ปี เมื่อเรียนจบจะได้รับปริญญาเภสัชกรรมศาสตร์บัณฑิต รวมทั้งขออนุมัติให้มีการสร้างอาคารเรียนเป็นของแผนกฯ เองโดยเฉพาะ และอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมสร้างรากฐานการจัดการเรียนการสอนนิสิตเภสัชศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ท่านได้ช่วยงานบิดาที่บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จัดระเบียบร้านขายยาให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ทั้งที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมการขายยาในขณะนั้น และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ท่าน ได้ปรับปรุงพัฒนาโรงงาน ให้ผลิตยาออกจำหน่ายให้ประชาชนยามขาดแคลนยา อาจารย์เกษมได้เจรจาเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ของ บริษัท Merck Sharp & Dohme (MSD) แห่งสหรัฐอเมริกา ท่านจึงร่วมกับญาติๆ ตั้งบริษัท บี.เอ็ล.เอช เทร็ดดิ้ง จำกัด ขึ้น ท่านพาบริษัทก้าวขึ้นสู่แถวหน้าของประเทศไทยในเวลานั้นและต่อมาอีกหลายทศวรรษ ต่อมาท่านได้ชักชวนให้ MSD ร่วมลงทุนกับ บี.เอ็ล.เอช. เทร็ดดิ้ง สร้างโรงงานเมอร์ค ชาร์พ แอนด์ โดห์ม (ประเทศไทย) ขึ้น ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย ที่บริษัทชั้นนำระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา มาลงทุนสร้างโรงงานผลิตยาระดับโลก ด้านสังคม ท่านเป็นกรรมการเภสัชกรรมสมาคมฯ กว่า 20 ปี และได้รับเลือกเป็นนายกเภสัชกรรมสมาคมฯ ในปี พ.ศ. 2489 อาจารย์เกษมและนายพิชัย รัตตกุล ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมไทยผลิตยาแผนปัจจุบัน หรือ สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน(TPMA) โดยอาจารย์เกษมเป็นนายกสมาคมคนแรก และเป็นกรรมการกลางสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2494 -พ.ศ. 2519 และอุปนายก พ.ศ. 2503 –…
-
รางวัลรัตโนบล พุทธศักราช 2557
รายนามผู้ได้รับรางวัลรัตโนบล พุทธศักราช 2557 ได้แก่ บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) , เภสัชกรธีระ ฉกาจนโรดม , รองศาสตราจารย์ภิยโย ปันยารชุน , นายกว้าง รอบคอบ , นายวศิน คำรัตน์ , นายสุวิทย์ แก้วกิ่ง ,