ห้วยตองแวด

ลำห้วยนี้อยู่ห่างจากเขตพื้นที่ตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานีไปทางทิศใต้ประมาณ 1-2 ก.ม. ลำห้วยมีความกว้างประมาณ 15 ถึง 20 เมตร ไหลอ้อมจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก รับน้ำนองจากพื้นที่มากกว่าหนึ่งร้อย ตร.กม. จึงทำให้มีน้ำไหลเกือบตลอดปี

ห้วยตองแวดน้อย ก่อนขุดลอกบริเวณถนนเข้าหมู่บ้าน 2 ธันวาคม 2532

โดยจะมีปริมาณมากในฤดูฝน และไหลต่อเนื่องไปอีก 2-3 เดือน  หลังจากหมดฝน หลังจากนั้นน้ำจะถูกเก็บกักอยู่ในลำห้วยตลอดปี โดยฝายกั้นน้ำที่สร้างขึ้นเป็นช่วง ๆ สำหรับใช้เพื่อการเพาะปลูก และสำหรับเลี้ยงสัตว์ในบริเวณแนวลำห้วย

ห้วยตองแวด มองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าลำห้วยนี้จะมีน้ำมาก และอยู่ในระยะที่ไม่ไกลจากพื้นที่ตั้งวิทยาลัยฯ แต่ก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับวิทยาลัยฯ เนื่องจากน้ำที่ไหลลงมาลงลำห้วยนี้ผ่านพื้นที่รับน้ำ ซึ่งส่วนหนึ่งคือพื้นที่ตั้งวิทยาลัยฯ ชุมชนข้างเคียง และอีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่นี้ในอนาคต

จะยากต่อการดูแลรักษาป้องกันมลภาวะที่จะเกิดต่อแหล่งน้ำนี้ได้ นอกจากนั้นโดยสภาพภูมิประเทศลำห้วยนี้จะต้องเป็นที่รับน้ำ ซึ่งระบายออกจากบริเวณวิทยาลัยฯ ทั้งในรูปของน้ำนองจากพื้นที่ในฤดูฝน และน้ำทิ้ง ประเด็นนี้จะเป็น ประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง ในการวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมในโครงการจัดตั้งวิทยาลัยฯ  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของแหล่งน้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนบริเวณแนวลำห้วยนี้โดยตรง

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2530).  โครงการจัดตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานี รายงานการสำรวจสภาพพื้นที่ด้านวิศวกรรม, หน้า 17