กันเกราเน็ต
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดตั้งสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหน่วยกลางในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บริการจัดการระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย “กันเกราเน็ต” ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
มหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนระบบโทรศัพท์สายทองแดงเป็นสายใยแก้วเชื่อมโยงอาคารภายในเขตการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้นำวิธีการวางท่อร้อยสายใยแก้วในแท่งคอนกรีตใต้ดิน (Duct Bank) ซึ่งเป็นมาตรฐานการเดินโครงข่ายมาใช้ ลักษณะของการเดินสายใยแก้วในโครงข่ายหลัก จะเป็นการเชื่อมต่ออาคารหลักด้วยการร้อยสายใยแก้ว ชนิด Multimode ) ขนาด 8 core สอดเข้าในท่อ High – Density Polyethylene ฝังในคอนกรีตที่มีความหนา 50×50 ซม. โดยมีหลุมพักสายทุกระยะ 50 เมตร และทุกช่วงที่มีการหักเลี้ยวสำหรับในการเชื่อมอาคารย่อยเข้ากับอาคารหลักในบางช่วงที่มีระยะทางมายาวนัก จะเป็นการเดินลอยใต้หลังคาคลุมทางเดิน โดยให้อาคารสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นศูนย์กลางและประตูทางออกของเครือข่าย (Gateaway) ด้วย Topology แบบ Star เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และความเร็วในการเชื่อมต่อ เมื่อเสร็จสิ้นระยะที่ 1 ความเร็วในการเชื่อมต่อระหว่างอาคารหลักกับอาคารสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่ายจะเป็น 100 Mbps
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2544 ซึ่งเป็นระยะที่ 2 ของโครงการ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ผ่านมาซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่มีจุดประสงค์ที่จะรองรับการสื่อสารสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลของระบบงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย
สำหรับการเชื่อมต่อระบบ Internet ได้เป็นครั้งแรกในปี 2539 โดยการเช่าบริการของบริษัท เอเน็ตจำกัด และได้เปลี่ยนมาใช้บริการผ่านเครือข่าย “UNINET” ของทบวงมหาวิทยาลัย ในปี 2542 ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อจากทบวงมหาวิทยาลัย มายังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ด้วยความเร็ว 512 Kbps และแบ่งส่งต่อให้กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยความเร็ว 128 Kbps จากนั้นในปี 2543 จึงมีการขยาย Bandwidth เพิ่มขึ้นโดยความเร็วภายในประเทศเท่ากับ 512 Kbps และในปี 2544 ในช่วงปี 2544 มีการขยายเพิ่มขึ้น โดยความเร็วภายในประเทศเท่ากับ 1 Mbps และต่างประเทศเท่ากับ 512 Kbps