• โรงอาหารกลาง

    ระยะแรกตั้งมหาวิทยาลัยฯ ยังไม่มีโรงอาหาร แต่มหาวิทยาลัยฯ ได้อนุญาตให้บุคคลเข้ามาประกอบการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแก่นักศึกษาและบุคลากรที่อาคารฝึกงานวิศวกรรมเครื่องกล (EN) มี 1 ร้าน และต่อมามีร้านอาหารสร้างเป็นที่ชั่วคราวจำหน่ายอาหารรและเครื่องดื่มใกล้อาคารที่พักราชการ (แฟลตกันเกรา) และข้างหอพักนักศึกษาหลังที่ 1 จนกระทั่งในปี พ.ศ.2534 อาคารอเนกประสงค์สร้างเสร็จ มหาวิทยาลัยแบ่งพื้นที่ด้านล่างส่วนหนึ่งเป็นโรงอาหารของมหาวิทยาลัย มีร้านอาหาร 2 ร้าน และร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม ขนมและผลไม้อีก 1 ร้าน ในปี พ.ศ.2536 ได้จัดพื้นที่ว่างที่อาคารสถาบันภาษาและวัฒนธรรม เป็นร้านอาหารและเครื่องดื่มขึ้นอีก แต่อยู่ไม่นานก็ยกเลิกไป และในปีนี้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เปิดให้เอกชนเข้ามาจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มขึ้นบริการที่คณะอีกจุดหนึ่งด้วย ทั้งนี้ใน พ.ศ.2536 มหาวิทยาลัยกำลังก่อสร้างโรงอาหารกลางขึ้น ซึ่งเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว คงอำนวยความสะดวกได้มาก   อ้างอิง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กองแผนงาน. (2537). รายงานวิจัยสถาบัน เรื่อง สภาพปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2535, หน้า 15  

  • 10 ปีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    ปีพุทธศักราช 2530 ทบวงมหาวิทยาลัย ได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาเทคโนโลยีมารองรับการพัฒนาประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในระยะยาว เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2531 ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ในระยะแรกทำการฝากเรียนไว้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมกันนั้นก็ได้เริ่มสร้างระบบสาธารณูประโภค อาคารเรียน อาคารฝึกงานต่าง ๆ ในพื้นที่ตั้งในปัจจุบัน และเตรียมยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย โดยเน้นพื้นที่ความรับผิดชอบจัดการศึกษาให้แก่ประชากร 8 จังหวัด ในส่วนตะวันออกของภาค ได้แก่ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ต่อมารัฐบาลได้มีมติยกฐานะวิทยาลัยอุบลราชธานีขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2533 มหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีปรัชญาการศึกษาว่า “มหาวิทยาลัยมุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพประชากรทุกหมู่เหล่า เพื่อเสริมคุณภาพชีวิตด้วยปัญญา เพื่อชี้นำทางเลือกที่ดีขึ้นแก่ชุมชนและประชาคม โดยเนินส่วนตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเป้าหมายหลัก” โดยมี รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี ดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดี เป็นบุคคลคนแรกถึงสองวาระด้วยกัน ปัจจุบัน คือ ศ.ดร.ไพฑูรย์ อิงคะสุวรรณ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีออกเป็น 6 คณะ จำนวน 20 สาขาวิชา และหลักสูตรปริญญาโทอีก 1 หลักสูตร คณะเกษตรศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพืชไร่ สาวิชาพืชสวน สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร และสาชาวิชาประมง คณะวิทยาศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะเภสัชศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์หลักสูตร 5 ปี คณะศิลปะศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาภาอังกฤษและการสื่อสาร สาขาวิชาการท่องเที่ยว ในปีการศึกษา 2543 นี้ ยังได้เริ่มรับหลักสูตรปริญญาโทในสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศขึ้นอีกด้วย คณะบริหารศาสตร์จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการจัดการการตลาด และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ การรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาด้วยกัน 3 วิธี คือ วิธีการรับตรง คิดเป็นรอยละ 60 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาทั้งในและนอกเขตอำเภอเมือง…

  • กันเกราเน็ต

    การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดตั้งสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหน่วยกลางในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บริการจัดการระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย “กันเกราเน็ต” ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนระบบโทรศัพท์สายทองแดงเป็นสายใยแก้วเชื่อมโยงอาคารภายในเขตการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้นำวิธีการวางท่อร้อยสายใยแก้วในแท่งคอนกรีตใต้ดิน (Duct Bank) ซึ่งเป็นมาตรฐานการเดินโครงข่ายมาใช้ ลักษณะของการเดินสายใยแก้วในโครงข่ายหลัก จะเป็นการเชื่อมต่ออาคารหลักด้วยการร้อยสายใยแก้ว ชนิด Multimode ) ขนาด 8 core สอดเข้าในท่อ High – Density Polyethylene ฝังในคอนกรีตที่มีความหนา 50×50 ซม. โดยมีหลุมพักสายทุกระยะ 50 เมตร และทุกช่วงที่มีการหักเลี้ยวสำหรับในการเชื่อมอาคารย่อยเข้ากับอาคารหลักในบางช่วงที่มีระยะทางมายาวนัก จะเป็นการเดินลอยใต้หลังคาคลุมทางเดิน โดยให้อาคารสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นศูนย์กลางและประตูทางออกของเครือข่าย (Gateaway) ด้วย Topology แบบ Star เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และความเร็วในการเชื่อมต่อ เมื่อเสร็จสิ้นระยะที่ 1  ความเร็วในการเชื่อมต่อระหว่างอาคารหลักกับอาคารสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่ายจะเป็น 100 Mbps ในปีงบประมาณ พ.ศ.2544 ซึ่งเป็นระยะที่ 2 ของโครงการ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ผ่านมาซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่มีจุดประสงค์ที่จะรองรับการสื่อสารสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลของระบบงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย สำหรับการเชื่อมต่อระบบ Internet ได้เป็นครั้งแรกในปี 2539 โดยการเช่าบริการของบริษัท เอเน็ตจำกัด และได้เปลี่ยนมาใช้บริการผ่านเครือข่าย “UNINET” ของทบวงมหาวิทยาลัย ในปี 2542 ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อจากทบวงมหาวิทยาลัย มายังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ด้วยความเร็ว 512 Kbps และแบ่งส่งต่อให้กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยความเร็ว 128 Kbps จากนั้นในปี 2543 จึงมีการขยาย Bandwidth เพิ่มขึ้นโดยความเร็วภายในประเทศเท่ากับ 512 Kbps และในปี 2544 ในช่วงปี 2544 มีการขยายเพิ่มขึ้น โดยความเร็วภายในประเทศเท่ากับ 1 Mbps และต่างประเทศเท่ากับ 512 Kbps