• จากสถาบันภาษาและวัฒนธรรมสู่คณะศิลปศาสตร์

    จากสถาบันภาษาเป็นคณะศิลปศาสตร์ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 5/2538 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2538 สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขยายขอบเขตภารกิจและเปลี่ยนชื่อสถาบันภาษาและวัฒนธรรม เป็น คณะศิลปศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี   ได้นำเสนอมตินี้ต่อคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการตามหนังสือที่ ทม.0204(2)/1715 ลงวันที่ 23 มกราคม พุทธศักราช 2539 ซึ่งอนุมัติให้บรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ (ปรับสถานภาพจากสถาบันภาษาและวัฒนธรรม) และบรรจุสาขาวิชาในระดับปริญญาตรี 4 สาขาวิชา คือ สาขาภาษาอังกฤษและการสื่อสาร สาขาการจัดการทั่วไป สาขาการจัดการตลาด และสาขาการท่องเที่ยว ในระดับปริญญาโท 2 สาขา คือ สาขาอินโดจีนศึกษา และสาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 6 หลักสูตร ไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พุทธศักราช 2542  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสมควรปรับสถานภาพและเปลี่ยนชื่อสถาบันภาษาและวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นคณะศิลปศาสตร์  เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์และสาขาวิชาบริหารธุรกิจ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการทางด้านศิลปศาสตร์ ประกอบกับสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเสียใหม่เพื่อความสะดวกในการใช้กฎหมาย และโดยที่มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พุทธศักราช 2533 กำหนดให้การจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกบัณฑิตวิทยาลัย คณะ วิทยาลัย สถาบัน สำนัก และศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

  • อาคารศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น

    อาคารศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น เป็นอาคารสำหรับใช้ปฏิบัติงาน และให้บริการสารสนเทศต่าง ๆ  รวมทั้งข้อมูลท้องถิ่นในรูปแบบของห้องสมุดอัตโนมัติ โดยใช้เชื่อมต่อกับสำนักคอมพิวเตอร์ ให้มีศักยภาพในการสืบค้น เชื่อมโยงกับ Campus network และสามารถเรียกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้จากหลาย ๆ ส่วนในตัวอาคาร ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก 3 ชั้น ตอกเสาเข็ม มีความมั่นคงแข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อรองรับน้ำหนักครุภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ สารสนเทศในรูปแบบหนังสือ สิ่งพิมพ์ มีระบบจ่ายน้ำ ระบบระบายน้ำ ระบบสุขาภิบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบไฟฟ้า ระบบสัณญาณเตือนภัย ระบบโทรศัพท์และสื่อสาร มีการวางสายใยแก้ว เพื่อต่อเติมระบบคอมพิวเตอร์ภายในอาคาร ระบบสายล่อฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบระบายอากาศ ระบบป้องกันการโจรกรรมหนังสือ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบควบคุมทางเข้าออก (Decentiziser) การปรับแต่งพื้นที่รอบอาคาร ถนน ทางเข้าคอนกรีต พร้อมหลังคาคลุมทางเดินบางส่วน รวมทั้งครุภัณฑ์ประจำอาคาร รวมพื้นที่ทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 3,480 ตารางเมตร งบประมาณค่าก่อสร้าง – วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างประมาณ 40,000,000 บาท (สี่สิบล้านบาทถ้วน)      

  • แรกเริ่มงบประมาณและการดำเนินงานของวิทยาลัยอุบลราชธานี

    งบประมาณประจำปี 2531 วิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับงบประมาณ จำนวน 16,263,600 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จ่ายเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนและการก่อสร้างสาธารณูปโภค ตลอดจนเงินเดือนบุคลากร สิ่งก่อสร้างนั้นส่วนใหญ่เป็นรายการที่จำเป็นต้องผูกพันกับเงินงบประมาณจนถึงปีงบประมาณ 2533 สิ่งก่อสร้างที่จัดสร้างในงบประมาณ ปี 2531 ได้แก่ อาคารอเนกประสงค์ ปรับปรุงแหล่งน้ำและการระบายน้ำระบบประปาขนาดกำลังผลิตประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน อาคารฝึกงานวิศวกรรมเครื่องกล, เรือนเพาะชำพร้อมห้องทำงานและห้องปฏิบัติการ, ถนนลูกรังขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 2.0 กิโลเมตร และระบบไฟฟ้าแรงสูงระยะทางยาวประมาณ 2 กิโลเมตร     งบประมาณประจำปี 2532 วิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับจัดสรรเป็นเงิน 47,660,110 บาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นเงินค่าก่อสร้างสำหรับสิ่งก่อสร้าง รายการที่มีการผูกพันงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2531 ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่เริ่มใหม่ในปี 2532 อีกทั้งยังเป็นเงินเดือนของอัตรากำลังที่เพิ่มขึ้น สิ่งก่อสร้างใหม่ที่ได้รับงบประมาณ ปี 2532 มีดังนี้ คือ อาคารปฏิบัติการวัสดุศาสตร์และกลศาสตร์, อาคารปฏิบัติการของไหลและความร้อน, ถนนลูกรังมาตรฐานขนาดกว้าง 8 เมตร, สูง 2 เมตร ยาว 8 กิโลเมตร, ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ ไฟถนนและไฟเข้าอาคาร ระยะทาง 5 กิโลเมตร, ระบบกำจัดน้ำเสีย, บ่อปลาพ่อ-แม่พันธุ์ ขนาด 1 ไร่, บ่อเลี้ยงปลา ขนาด 5 ไร่, โรงเรือนไก่ไข่, โรงเรือนไก่เนื้อ, โรงอาหารสัตว์, และโรงเรือนสุกรพันธุ์   งบประมาณประจำปี 2533 วิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับจัดสรรเป็นเงิน 68,411,800 บาท นอกเหนือจากใช้เป็นค่าเงินเดือน ค่าจ้างและอื่น ๆ แล้ว งบประมาณในหมวดสิ่งก่อสร้างทั้งหมดเป็นเงิน 39,924,400 บาท โดยเป็นค่าก่อสร้างที่ผูกพันจากปีงบประมาณ 2531 และ 2532 ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้รับจัดสรรเพิ่มเติมให้สร้าง อาคารบรรยาย 1 หลัง, อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 1 หลัง โรงประลองเทคโนโยลียานยนต์ 1 หลัง และระบบประปา การระบายน้ำ ปรับปรุงแหล่งน้ำ…