-
คำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีทูลเกล้าฯ ถวายปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
-
คำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นต้นมา พระราชจริยาวัตรของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ชนทั้งปวงว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดำรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม 10 สังคหวัตถุ 4 และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
-
รางวัลรัตโนบล พุทธศักราช 2566
มูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ รางวัลรัตโนบล ประเภทองค์กร อาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เป็นเภสัชกรที่มีบทบาทในวงการเภสัชกรรม ทั้งด้านวิชาการ ด้านอุตสาหกรรม และด้านสังคม ด้านวิชาการและวิชาชีพ ท่านเป็นเภสัชกรไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศ โดยจบจาก Philadelphia College of Pharmacy and Sciences (Master of Science in Pharmacy) อาจารย์เกษมได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาเภสัชศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ที่ แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นแค่การเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร หลักสูตร 3 ปีเท่านั้น และปีต่อมา ศาสตราจารย์จำลอง สุวคนธ์ ได้ทุนไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา อาจารย์เกษมจึงต้องสละเวลา และวางมือจากธุรกิจส่วนตัว เพื่อมาเป็นอาจารย์ประจำแผนก รวมทั้งสอนบางวิชาแทนด้วย อาจารย์เกษม ได้ร่วมกับคณาจารย์เภสัชศาสตร์หลายท่าน ผลักดันให้มีการขยายหลักสูตรวิชาเภสัชให้เป็น 4 ปี เมื่อเรียนจบจะได้รับปริญญาเภสัชกรรมศาสตร์บัณฑิต รวมทั้งขออนุมัติให้มีการสร้างอาคารเรียนเป็นของแผนกฯ เองโดยเฉพาะ และอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมสร้างรากฐานการจัดการเรียนการสอนนิสิตเภสัชศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ท่านได้ช่วยงานบิดาที่บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จัดระเบียบร้านขายยาให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ทั้งที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมการขายยาในขณะนั้น และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ท่าน ได้ปรับปรุงพัฒนาโรงงาน ให้ผลิตยาออกจำหน่ายให้ประชาชนยามขาดแคลนยา อาจารย์เกษมได้เจรจาเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ของ บริษัท Merck Sharp & Dohme (MSD) แห่งสหรัฐอเมริกา ท่านจึงร่วมกับญาติๆ ตั้งบริษัท บี.เอ็ล.เอช เทร็ดดิ้ง จำกัด ขึ้น ท่านพาบริษัทก้าวขึ้นสู่แถวหน้าของประเทศไทยในเวลานั้นและต่อมาอีกหลายทศวรรษ ต่อมาท่านได้ชักชวนให้ MSD ร่วมลงทุนกับ บี.เอ็ล.เอช. เทร็ดดิ้ง สร้างโรงงานเมอร์ค ชาร์พ แอนด์ โดห์ม (ประเทศไทย) ขึ้น ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย ที่บริษัทชั้นนำระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา มาลงทุนสร้างโรงงานผลิตยาระดับโลก ด้านสังคม ท่านเป็นกรรมการเภสัชกรรมสมาคมฯ กว่า 20 ปี และได้รับเลือกเป็นนายกเภสัชกรรมสมาคมฯ ในปี พ.ศ. 2489 อาจารย์เกษมและนายพิชัย รัตตกุล ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมไทยผลิตยาแผนปัจจุบัน หรือ สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน(TPMA) โดยอาจารย์เกษมเป็นนายกสมาคมคนแรก และเป็นกรรมการกลางสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2494 -พ.ศ. 2519 และอุปนายก พ.ศ. 2503 –…