|
|
:: การต้มเทียน ทุบหรือสับขี้ผึ้งแทเให้มีขนาดเล็กนำไปต้มผสมกับขี้ผึ้งเทียมในปี๊บหรือถุงน้ำมัน การต้มเีทียนใช้อัตราส่วน ขี้ผึ้งแท้ 3 ส่วน : ข้ผึ้งเทียม 10 ส่วน ส่วนการทำฐานหรือองค์ประกอบใช้อัตราส่วน ขี้ผึ้งแท้ 1 ส่วน : ขี้ผึ้งเทียม 3 ส่วน
|
|
|
|
:: การหล่อเทียน เป็นการเทขี้ผึ้งที่ต้มแล้วลงในแบบพิมพ์ หรือเบ้าหลอม หรือโฮง ที่มีมาจากสังกะสีแผ่นเรียบโค้งงอ ให้ได้ขนาดและรูปร่างของต้นเทียนตามที่ต้องการ |
|
:: การกลึงต้นเทียน เป็นการทำให้ลำต้นเทียนที่หล่อแล้วมีรูปร่างตามที่ต้องการ กลมและเกลี้ยงขึ้น โดยใช้เพลาช่วยหมุนต้นเทียนและใช้เหล็กกลึง กลึงต้นเทียนให้ได้รูปร่าง |
|
|
:: การทำผึ้งแผ่น เป็นการทำขี้ผึ้งให้เป็นแผ่น ๆ เพื่อใช้ตกแต่ง ซ่อมแซม หรือปิดส่วนต่าง ๆ ของต้นเทียนและองค์ประกอบ เช่น ฐาน ลำต้น ยอด หรือองค์ประกอบ การทำผึ้งแผ่นจะเทขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้วลงในแบบพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดขนาดความหนาของแผ่นผึ้งตามความต้องการ และปรับผิวหน้าให้อยู่ในระนาบเดียวกันทั้งแผ่น จากนั้นปล่อยให้ขี้ผึ้งเย็นและแข็งตัว จึงลอกแผ่นผึ้งออกจากแบบพิมพ์โดยใช้มีดช่วยในการงัดแงะ จากนั้นจึงนำผึ้งแผ่นไปใช้งานต่อไป |
|
|
|
:: การปั้นหุ่นองค์ประกอบ วัสดุอุปกรณ์ในการปั้นหุ่นประกอบด้วย ใยมะพร้าว เหล็ก ปูนปลาสเตอร์ น้ำ ถัง และไม้อัด เริ่มต้นทำเขียนแบบใส่ไม้อัด ใส่โครงเหล็ก แล้วมัดด้วยใยมะพร้าวบนโครงเหล็ก จากนั้นการผสมปูนปลาสเตอร์ ในสัดส่วน น้ำ 1 ส่วน ต่อ ปูนปลาสเตอร์ 2 ส่วน เมื่อผสมปูนปลาสเตอร์เสร็จแล้ว ก็จะนำไปหุ้ม่บนโครงเหล็ก เมื่อปูนปลาสเตอร์แห้งก็จะนำขี้ผึ้งแผ่นเข้าติดบนตัวหุ่นและแกะสลักต่อไป |
|
|
|
:: การออกแบบ เป็นการร่างแบบหรือลวดลายลงบนกระดาษ หรือต้นเทียนก่อนทำการแกะสลัก เพื่อให้ได้ลวดลายที่ถูกต้อง สวยงามและสอดคล้องกลมกลืนกัน |
|
:: การแกะสลัก เป็นการใช้เครื่องมือต่าง ๆ แกะสลักลงบนต้นเทียนหรือส่วนประกอบ โดยใช้วิธีเซาะ เจาะ ขีด ขุด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ ที่มีความกว้าง ความยาว และความลึก ให้มีรูปร่างตามจินตนาการ หรือเหมือนของจริง |
:: การตกแต่ง เป็นการเก็บรายละเอียด ตรวจสอบหาความบกพร่องต่าง ๆ ของต้นเทียนและองค์ประกอบ เช่น ความละเอียด ความคมชัดของลาย ตลอดจนการทำความสะอาดต้นเทียน หากพบความบกพร่องจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ต้นเทียนเรียบร้อยและมีความสมบูรณ์มากที่สุด |
|
|