:: ก า ร ทำ เ ที ย น พ ร ร ษ า จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::

ลายแกะ...ลายพิมพ์...ลายเทียน

 

:: ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ::

        ลวดลายที่ใช้ประกอบในการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประเภทแกะสลักนั้นใช้ลวดลายไทยเป็นหลัก ที่นิยมคือ ลานกระจัง ลายประจำยาม ลายกนก ลายผักกรูด ลายกระจังตาอ้อย และมีลวดลายที่ได้แนวคิดจากสิ่งที่พบเห็นตามธรรมชาติ เช่น รวงข้าว เปลวไฟ กาบใบ ใบไม้ ฟันปลา ดอกไม้ และเครือเถาของพืชบางชนิด ลวดลายที่ได้จากลายไทย ช่างทำเทียนจะนำมาดัดแปลงเพื่อนำมาทำเป็นแม่พิมพ์ ลายพิมพ์หรือแกะลงบนลำต้น หรือฐานของต้นเทียน ลวดลายที่พบเห็นได้นั้นแบ่งออกเป็น 4 ลวดลาย ได้แก่

ลายกนก ลายนารี ลายกระบี่ ลายคชะ

:: ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ::

        ลายที่นำมาติดที่ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในขบวนต้นเทียนหนึ่งขบวนจะมีลายหลายแบบและมีขนาดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และรูปแบบของต้นเทียน ถ้าเป็นต้นเหลี่ยมก็จะแกะสลักลายให้มีขนาดเท่ากับเหลี่ยมของต้นเทียน แต่ถ้าเป็นต้นกลมก็จะแกะสลักให้ลงตัว เมื่อติดโดยรอบแล้วจะลงตัวพอดี

         ลายต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมี 3 ลักษณะ คือ
        1.ลายเอก หมายถึง ลายเด่นของต้นเทียนที่เป็นหลักส่วนมากจะเป็นลายก้านขดลักษณะต่าง ๆ เช่น ก้านขดหางไหล ก้านขดกนกหางโต ก้านขดหน้าสิงห์ ก้านขดเทพนม เป็นต้น
        2.ลายโท(ลายประกอบ) หมายถึง ลายที่สร้างขึ้นขึ้นเพื่อรองรับกับลายเอกมีลักษณะเด่นรองลงมาจากลายเอก หรือเมื่อนำไปติดบางส่วนของขบวนต้นเทียนก็จะกลายเป็นลายเอกได้ เช่น ลายกนกเกลียว ใบเทศเกลียว พุ่มหางกนก ลายกระจัง ลายปีกผีเสื้อ ลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังหลักร้อย ลายประจำยาม ลายพวงมาลัยย้อย เป็นต้น
        3.ลายเก็บงาน เป็นลายที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บงานหรือส่งลายเอกให้เด่นขึ้น เช่น ลายกระจังฟันปลา ลายตาอ้อยซ้อน(ลายกระดูกงู) ลายตาตุ่ม ลายมะลิซ้อน ลายประกอบเก็บงานจะเป็นลายเส้นยาวใช้ในการเก็บรายละเอียดของลายให้วิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น

:: ก า ร ทำ เ ที ย น พ ร ร ษ า จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::
:: ก า ร ทำ เ ที ย น พ ร ร ษ า จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::