|
|
:: การออกแบบ โดยการร่างแบบที่จะจัดทำลงบนกระดาษ แล้วนำดอกผึ้งไปติดตามโครงสร้างของต้นเทียน ช่างเทียนจะเป็นผู้กำหนดว่าดอกผึ้งลายใดจะใช้กับส่วนใดของต้นเทียน |
:: การต้มเทียน นำขี้ผึ้งแท้มาสับเป็นก้อนเล็ก ๆ ต้มในชามขนาดใหญ่ ใส่น้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อป้องกันการไหม้และทำให้ขี้ผึ้งสะอาดขึ้น ระหว่างต้มหมั่นคนเพื่อให้เทียนละลายเร็ว เมื่อละลายดีแล้วยกลง ใช้กระบวยกรองขี้ผึ้งลงในชามขนาดเล็กโดยใส่นำเล็กน้อย ตะกอนที่ปะปนจะตกตะกอนลงในน้ำ ทิ้งให้ขี้ผึ้งแข็งตัวพอหมาด ๆ จึงนำไปใช้ |
|
:: การหล่อเทียน การหล่อลำต้นและยอดของต้นเทียนจะใช้สังกะสีแผ่นเรียบทำเป็นแม่พิมพ์ขึ้นรูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างและความยาวตามต้องการ นำเหล็กมาทำแกนกลาง จากนั้นเทแบบด้วยขี้ผึ้งที่ต้มละลายแล้วลงในแบบพิมพ์จนเต็มปล่อยทิ้งไว้จนเย็น จะต้องใช้เวลาประมาณ 5-8 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ จึงจะแกะแบบพิมพ์ออก |
:: การกลึงต้นเทียน การกลึงต้นเทียนให้ได้ดีเป็นหน้าที่ของช่างกลึงเหล็กหรือไม้ เป็นขั้นตอนที่จะทำให้ต้นเทียนกลมเกลี้ยง เมื่อกลึงเสร็จแล้วขนาดของต้นเทียนติดพิมพ์จะต้องเล็กกว่าที่ต้องการเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะต้องมีการติดพิมพ์ดอกผึ้งเพิ่มเข้าไปอีก |
:: การพิมพ์ดอกผึ้ง นำแม่พิมพ์แช่น้ำฝห้อิ่มตัว ใช้ช้อนขูดขูดผิวหน้าขี้ผึ้งให้ได้ขนาดเท่าไข่ไก่ นวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน วักน้ำละลายผงซักฟอกหยอดลงในแบบพิมพ์และลูบขวดแก้วด้วยน้ำ นำขี้ผึ้งที่นวดแล้ววางและกดลงในลายดอกของแบบพิมพ์ ใ้ช้ขวดกดและคลึงขึ้ผึ้ง ให้แทรกเข้าไปทุกเส้นลายของแบบพิมพ์ แล้วคลึงจนผิวหน้าของขี้ผึ้งแบนราบ จึงแะขี้ผึ้งออกมาวางรวมกันในถาด |
|
|
|
:: การตัดลายดอกผึ้ง นำดอกผึ้งที่พิมพ์ลายไว้แล้่วไปวางบนกระจกใส ใช้มีดตัดลายตามแบบ ควรจุ่มปลายมีดตัดด้วยน้ำมันพื้ชเล็กน้อย จะทำให้ตัดง่ายขึ้น เศษของขี้ผึ้งที่ตัดออกจะเก็บไว้เพื่อนำไปหลอมละลายใหม่เพื่อใช้ทำดอกผึ้งสำหรับงานซ่อมแซมต่อไป แยกดอกผึ้งลายต่าง ๆ ไว้คนละถาด เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการหยิฐไปใช้ |
|
|
|
:: การติดดอกผึ้ง ดอกผึ้งที่ตัดเรียบร้อยแล้วจะใช้ติดตามฐาน ลำต้น ยอดของต้นเทียนและส่วนประกอบอื่น ๆ ของต้นเทียน ส่วนการติดดอกผึ้งที่มีลวดลายใดลงที่ส่วนใดนั้น ช่างผู้ทำเทียนจะเป็นผู้ออกแบบ |
|